มหัศจรรย์แห่งศรัทธา…พระธาตุอินทร์แขวน

ภาพหินสีทองอร่ามที่ตั้งหมิ่นเหม่อยู่บนหน้าผา อาจจะดึงดูดความสนใจจากใครหลายๆคนให้อยากรู้จักประวัติความเป็นมาของ “พระธาตุอินทร์แขวน” แห่งพม่า หรือไม่บัลดาลใจให้ใครหลายคน อยากเดินทางไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนให้ได้สักครั้งในชีวิต ฉันก็เป็นหนึ่งในหลายคนนั้น ภาพความสวยงามของพระธาตุ เรื่องราวแรงศรัทธาของชาวพม่า และความเป็น 1 ใน 5 มหาพุทธบูชาของพม่า ล้วนเป็นเหตุผลที่ฉันดั้นด้นไปเยือที่นี่ ถึงแม้ใครต่อใครก็พากันขู่ว่า ไปเที่ยวที่นั่นเอง มันไม่ง่ายเลยนะ แต่ฉันมันคนอินดี้ ให้ไปเที่ยวกับทัวร์คงไม่สนุกและสะดวกใจ ขอไปลุยๆตามแบบฉบับสาวอินดี้ดีกว่า ตามไปเที่ยวกันเลย แล้วจะรู้ว่า พระธาตุอินทร์แขวน…ไม่ลำบากอย่างที่คิด

ติดตามอ่านเรื่องราวการเดินทางในพม่าตอนอื่นๆได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

ตอนที่ 1 เมื่ออินดี้หนีเที่ยวพม่า

ตอนที่ 2 ลัดเลาะซอกแซกเมืองย่างกุ้ง

ตอนที่ 3 เที่ยวอย่างอินดี้…นั่งรถไฟรอบเมืองย่างกุ้ง

ตอนที่ 4 มหัศจรรย์แห่งศรัทธา…พระธาตุอินทร์แขวน

 

ตามไปหลงเสน่ห์พม่ากันต่อเลยค่ะ


การเดินทางสู่พระธาตุอินทร์แขวน


พวกเราสามสาวอินดี้ออกเดินทางจากตัวเมืองย่างกุ้งตั้งแต่เช้า มุ่งหน้าไปที่สถานีขนส่งรถประจำทาง Aung Mingalar Bus Station เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองไจ๊ก์โถ (Kyaikto) ประตูสู่การไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวน

ณ สถานีขนส่ง เรามองหาจุดขายตั๋วของบริษัท Win Express ซึ่งมีรถบัสให้บริการจากย่างกุ้งไปเมืองไจ๊ก์โถทุกวัน โดยจะมีรถออกทุกๆหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็นค่ะ

และแล้วเราก็หาเจอ สถานีขนส่งที่นี่ใหญ่พอสมควร ละลานตาไปด้วยรถบัสและตัวอักษรพม่าที่ไม่คุ้นเคย โชคดีที่ฉันเก็บภาพโลโก้ของบริษัทนี้ไว้จากอินเตอร์เนต มีภาพพระธาตุอินทร์แขวนยืนยันว่าเรามาไม่ผิดที่ผิดทาง

Myanmar_Kyaiktiyo_001-1

Myanmar_Kyaiktiyo_002

จากนั้นเราก็เข้าไปซื้อตั๋ว ซึ่งเราไม่ได้จองตั๋วไว้ล่วงหน้าเพราะเห็นว่ามีรถออกทุกหนึ่งชั่วโมง เราได้ตั๋วเดินทางเวลา 8:30 น.  หน้าตาของตั๋วเป็นกระดาษสีขาวบางๆที่มีแต่ภาษาพม่า แต่จากตัวเลขที่ถูกเขียนด้วยปากกาสีน้ำเงินก็พอทำให้เดาออกว่า เขาเขียนจำนวนผู้เดินทาง เวลารถออก วันที่เดินทาง และเลขที่นั่งได้ถูกต้อง ค่าโดยสารคนละ 7,000 จั๊ต/คน/เที่ยว

IMG_6305

หมดกังวลกับตั๋วรถแล้ว เรายังพอมีเวลาเดินเล่นชมสถานีขนส่งก่อนที่จะถึงเวลาออกเดินทาง บรรยากาศตอนเช้าค่อนข้างคึกคัก มีพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่นำของมาขายเยอะแยะเลยค่ะ ทั้งอาหาร น้ำดื่ม ขนมขบเคี้ยว และของเด็กเล่น (ที่ผู้ใหญ่แบบเราก็อยากย้อนวัยกลับไปเล่นด้วย)

Myanmar_Kyaiktiyo_003

ได้เวลาออกเดินทาง เจ้าหน้าที่ก็เรียกเราขึ้นรถ สภาพรถดีมากเลยค่ะ ค่อนข้างใหม่ แอร์เย็น ที่นั่งสบายแบบเพียงพอกับการเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_005

Myanmar_Kyaiktiyo_004

Myanmar_Kyaiktiyo_006

นั่งรถมาเกือบสี่ชั่วโมงกว่าๆ รถก็จอดที่จุดพักรถให้เราได้เข้าห้องน้ำ หรือทานอาหารได้ตามอัธยาศัยเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง พวกเราเลยถือโอกาสทานอาหาร Brunch กันที่นี่ เลือกสั่งเมนูข้าวแกงแบบพม่ามาตามใจชอบ พี่เจ้าของร้านพูดไทยชัดเจนต้อนรับขับสู้พวกเราเป็นอย่างดี ดูจะดีอกดีใจที่ได้คุยภาษาไทยกับพวกเรา แถมเล่าให้ฟังว่า เคยไปทำงานในไทยอยู่หลายจังหวัดตั้งแต่เหนือจดใต้เป็นเวลาสิบกว่าปี เก็บเงินได้ก็กลับมาสร้างเนื้อสร้างตัวทำธุรกิจที่บ้านเกิดที่นี่ นับว่าเป็นธุรกิจที่รุ่งเรืองใช้ได้เลยค่ะ นับถือในความขยันและอดทนของพี่ ฉันยิ้มให้แล้วตอบกลับไปว่า “Good for you, wish you all the best”

Myanmar_Kyaiktiyo_008

Myanmar_Kyaiktiyo_007

อิ่มท้องแล้วพวกเราก็ขึ้นรถ นั่งต่อไปอีกเพียงครึ่งชั่วโมง พวกเราก็มาถึง คินปุนเบสแคมป์ (Kinpun Base Camp) ซึ่งเลยมาจากตัวเมืองไจ๊ก์โถมานิดหน่อยค่ะ เมื่อมาถึงเราก็ถามหาสถานีรถบรรทุกเพื่อขึ้นไปยังพระธาตุอินทร์แขวน (คนพม่าเรียกว่า ไจ๊ก์ติโย ค่ะ) คนไทยเราเรียกรถบรรทุกนี้ว่า “รถขนหมู” ซึ่งฉันได้ยินกิตติศัพท์ความโหดของการเบียดกันบนรถขนหมูและเส้นทางขึ้นเขามาเยอะมากค่ะ หลายคนจึงเลือกที่จะเดินทางมาที่นี่ด้วยบริษัททัวร์จากเมืองย่างกุ้ง แต่เมื่อมาถึง ที่นี่พัฒนาขึ้นมากจากที่เคยได้ยินมา น่าจะเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

Myanmar_Kyaiktiyo_010

เราเดินตามชาวพม่าไปขึ้นรถขนหมู เราถูกบังคับให้นั่งเบียดกันแถวละ 6 คน ส่วนกระเป๋าเดินทางใบโตถูกโยนไว้ด้านหลังรถไปก่อนแล้ว ค่าโดยสารคนละ 2,500 จั๊ต โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก็จะไปถึงจุดจอดรถบนเขา

Myanmar_Kyaiktiyo_011

ระหว่างทางจะมีการจอดรถเป็นพักๆ บางจุดมีการมาเรี่ยไรเงินทำบุญ พวกเราฟังไม่ออกหรอกว่าเขาจะนำเงินไปทำอะไร ฟังไม่ออก อ่านก็ไม่ออก แต่เห็นจากจำนวนชาวพม่าที่หยอดเงินลงในขันแล้ว เราก็เชื่อมั่นว่า เขาน่าจะนำเงินไปทำนุบำรุงศาสนาจริงๆ

Myanmar_Kyaiktiyo_075

นั่งตัวเกร็งกันสักพักใหญ่ๆ เราก็มาถึงจุดจอดรถด้านบน ผู้คนทยอยลงจากรถบรรทุกคันใหญ่

Myanmar_Kyaiktiyo_012

จากจุดนี้ เราจะเลือกเดินหรือใช้บริการนั่งเสลี่ยงเพื่อทุ่นแรงไปยังพระธาตุก็ได้ค่ะ ซึ่งระยะทางไปยังพระธาตุประมาณ 3 กิโลเมตร พวกเราเลือกที่จะเดินไปเพราะไปเข้าที่พักก่อน ที่พักของพวกเราอยู่ห่างจากจุดนี้ไปประมาณ 300 เมตร ก่อนถึงด่านเก็บเข้าพระธาตุ

Myanmar_Kyaiktiyo_014

Myanmar_Kyaiktiyo_013

ระหว่างทางมีร้านค้ามากมายเลยค่ะ ส่วนใหญ่จะขายของที่ระลึกและร้านอาหาร แต่ที่ชอบที่สุดคือ มีโถดินเผาใส่น้ำให้นักเดินทางดับกระหาย คล้ายๆเมืองไทยในสมัยก่อนเลยค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_066

Myanmar_Kyaiktiyo_067

Myanmar_Kyaiktiyo_082

Myanmar_Kyaiktiyo_015


ว่ากันเรื่องที่พัก…อันน้อยนิด


โรงแรมที่อยู่บนเขาใกล้กับพระธาตุอินทร์แขวนมีเพียง 3 แห่งค่ะ แต่มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่รับบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ นั่นก็คือ Kyaikhto Hotel และ Mountain Top Hotel ส่วน Yoe Yoe Lay Guesthouse นั้นจะเน้นรับชาวพม่าก่อนค่ะ ทั้งสามโรงแรมนี้ฮอตฮิตมากต้องจองล่วงหน้ากันหลายเดือนเลย ราคาก็ถือว่าแพงมาก แต่ข้อดีของการพักด้านบนนี้ เพราะจะได้รับความสะดวกในการไปชมพระธาตุได้หลายรอบหลายเวลา

พวกเราเลือกพักที่ Mountain Top Hotel ซึ่งดูสะอาดและเงียบสงบที่สุด แต่เดินไกลจากพระธาตุมากที่สุดและแพงที่สุดค่ะ  พวกเรายอมควักกระเป๋าสู้ราคา 125$ ต่อคืน ต่อสามคน (ปกติฉันเลือกที่พักประมาณไม่เกิน 40$ ต่อคืนต่อสองคน)

Myanmar_Kyaiktiyo_019

Myanmar_Kyaiktiyo_018

ห้องนอนไม่เล็กไม่ใหญ่ค่ะ แต่วิวริมหน้าต่างบานโตนี่สวยมาก เป็นภูเขาสีเขียวๆที่มองดูแล้วก็ชื่นใจและสบายตามาก พยายามปลอบใจตัวเองว่าควักกระเป๋าเพื่อวิวสวยๆนี้ก็แล้วกัน

Myanmar_Kyaiktiyo_016

Myanmar_Kyaiktiyo_017

จองที่พัก Mountain Top Hotel: www.moutaintop-hotel.com

ถ้าหากต้องการประหยัดค่าที่พักและไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องนมัสการพระธาตุสามเวลาแตกต่างกัน ก็สามารถเลือกที่พักที่ตีนเขาตรง Kinpun Base Camp ก็ได้ค่ะ


เส้นทางเดินสู่พระธาตุ


หลังเช็คอินที่โรงแรม เก็บกระเป๋าในห้องพักเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนยามบ่ายกันแล้ว ชาวพม่ามีความเชื่อกันว่า ในชีวิตหนึ่งต้องเดินทางมาสักการะพระธาตุอินทร์แขวนแห่งนี้ให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ชาวไทยอย่างพวกเราที่ต้องเดินทางไกลมาก็ขอตั้งวัฒนธรรมแบบหยวนๆ คือการไปนมัสการพระธาตุอินทร์แขวนให้ได้ 3 เวลา (อย่างกรณีนี้ กลางวัน ค่ำ และเช้าวันถัดไปค่ะ) ในการเดินทางมาหนึ่งครั้งแทน เล่นกันง่ายๆแบบนี้แหละค่ะ

จากโรงแรมมาไม่ไกล ก็จะต้องผ่านด่านเก็บเงินเข้าพระธาตุ ค่าบัตรเข้าชม Kyaikhtiyo Archaeological Zone สำหรับชาวต่างชาติในราคา 6,000 จั๊ต แล้วเราก็จะได้ป้ายผ่านเข้าชมพระธาตุนำมาแขวนคอ ซึ่งสามารถใช้ได้เป็นเวลาสองวันเต็มค่ะ ต้องเก็บไว้ให้ดี

Myanmar_Kyaiktiyo_021

IMG_6306

ระยะทางจากจุดขายบัตรไปยังพระธาตุประมาณ 800 เมตรค่ะ ถึงเราสามารถเดินชมผู้คนและบรรยากาศได้สบาย เส้นทางเดินง่ายไม่มีทางชัน หรือจะใช้บริการเสลี่ยงของชาวบ้านที่นั่นก็ได้ หรือถ้ามีสัมภาระเยอะก็มีลูกหาบหอยให้บริการด้วยระหว่างทางจะมีของขายเป็นระยะๆ

Myanmar_Kyaiktiyo_022

ไก่ทอดสีเข้มๆ บนกระดาษหนังสือพิมพ์ และพ่อค้าที่ยิ้มพิมพ์ใจ ขอส่งยิ้มกลับไปแทนแล้วกันนะ ไม่กล้าลองทานจริงๆ

Myanmar_Kyaiktiyo_023

Myanmar_Kyaiktiyo_077

เดินมาสักพักก็จะมาถึงซุ้มประตูที่มีสิงห์ขนาบสองข้าง จากจุดนี้เราต้องถอดรองเท้าแล้วค่ะ มีห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เพราะวัดต่างๆในพม่าเคร่งครัดเรื่องการแต่งกายที่สุภาพในการเข้าวัดเข้าวาค่ะ สายเดี่ยว แขนกุด กางเกงขาสั้นนี่เก็บไว้ใส่ไปเที่ยวทะเลบ้านเราดีกว่า มาที่นี่ให้นุ่งผ้าถุง กระโปรงยาว หรือกางเกงขายาวดีกว่าค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_025

Myanmar_Kyaiktiyo_026

เดินเลยมาจากซุ้มประตูขึ้นมาอีกนิดเดียวก็จะเจอกับองค์พระธาตุองค์เล็ก ในตำนานบอกว่า เคยเป็นเรือที่นำก้อนหินมาแล้วกลายเป็นก้อนหิน (แล้วจะเล่าให้ฟังอีกทีเกี่ยวกับตำนานพระธาตุอินทร์แขวนนะคะ) และตรงจุดนี้ จะมีจุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นพระธาตุองค์จริงจากไกลๆด้วยค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_081

Myanmar_Kyaiktiyo_030

เดินต่อมาก็จะเจอกับอาคารสองหลังที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน อาคารฝั่งซ้าย มีรูปปั้นของพระนางชเวนันจิน นอนอยู่ ท่านถือเป็นนัตหรือเป็นเทพที่คุ้มครองที่นี่ ตามความเชื่อว่ากันว่า ถ้าเจ็บป่วยส่วนใดของร่างกายให้แตะไปที่ส่วนนั้นของพระนางแล้วอธิษฐาน อาการป่วยก็จะดีขึ้น จากนั้นก็วางเงินทำบุญไปด้วย (เท่าที่เห็นมีแต่แบงค์ไทยทั้งนั้นเลย จนอดสงสัยไม่ได้ว่า ความเชื่อเรื่องอธิษฐานนี้เป็นตำนานไทยอีกหรือเปล่า) 

Myanmar_Kyaiktiyo_028

Myanmar_Kyaiktiyo_027

ส่วนอาคารทางด้านขวา มีรูปปั้นของคนในตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระธาตุ มีพระพุทธบาทจำลอง และภาพปูนปั้นนูนแสดงความเป็นมาของพระธาตุอินทร์แขวน เจ้าหน้าที่ส่งสัญญาณบอกให้พวกเราเอาหน้าผากแตะพระธาตุจำลองปูนปั้น คงเป็นเพราะเป็นสิ่งจำลอง ผู้หญิงเลยอนุญาตให้สัมผัสพระธาตุได้

re_Myanmar_Kyaiktiyo_339

re_Myanmar_Kyaiktiyo_341

อาคารนี้สวยดีค่ะ แต่ไม่เปิดให้เข้าไปชม มองจากด้านนอกดูเหมือนด้านในจะมีพระพุทธรูปมากมายเลยค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_029

ยิ่งเข้าใกล้ตัวพระธาตุ บรรยากาศก็ยิ่งคึกคักขึ้นมากเลยค่ะ ผู้ที่เดินทางมาสักการะพระธาตุอินทร์แขวนส่วนใหญ่เป็นชาวพม่ามากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติค่ะ สาวๆพม่าแต่งกายสสุภาพนุ่งผ้าเข้าชุดสวยงาม เป็นวัฒนธรรมที่ดีที่ชาวพม่ายังคงรักษาไว้ได้อย่างดีงาม และท่าทางสาวๆที่นี่จะชอบทานของเปรี้ยวค่ะ ผลไม้ดองสีสดๆนี่ขายดีมากๆเลย

Myanmar_Kyaiktiyo_031

Myanmar_Kyaiktiyo_032

เมื่อก้าวเข้ามาถึงลานกว้างในบริเวณพระธาตุ เราจะได้เห็นชาวพม่าที่เดินทางมาสักการะพระธาตุอินทร์แขวนเป้นจำนวนมาก แน่นอนว่าที่พักบนนี้มีไม่เพียงพอต่อแรงศรัทธา ชาวบ้านจึงต้องอาศัยนอนตรงลานวัด ภายใต้เต๊นท์ที่ทางวัดจัดไว้ให้ (ซึ่งมีไม่เพียงพอ) ส่วนใหญ่จึงปูเสื่อนอนกันตรงลานวัดนั่นแหละค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_033

Myanmar_Kyaiktiyo_037


ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน


ฉันได้อ่านตำนานของพระธาตุอินทร์แขวนมาหลายตำรา ส่วนใหญ่จะเล่าถึงความเหนือธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะได้เห็นถึงแรงศรัทธาของพระพุทธศาสนิกชนด้วย

ตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาแก่เหล่าฤาษีเพื่อให้นำไปให้พุทธศาสนิกชนสักการะ ฤาษีแต่ละตนก็นำไปบรรจุในเจดีย์ต่างๆ แต่มีฤาษีตนหนึ่งแอบเก็บเอาไว้เองโดยเก็บไว้ในมวยผม เมื่อถึงคราวที่ฤาษีตนนั้นละสังขาร จึงได้มอบพระเกศานี้ให้แก่พระเจ้าติสสะ และได้สั่งเสียไว้ว่าให้บรรจุลงในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายศีรษะของตน เมื่อพระอินทร์ทรงทราบเรื่องก็ได้ช่วยพระเจ้าติสสะหาก้อนหินก้อนนี้ขึ้นมาให้จากใต้มหาสมุทร แล้วไปวางไว้ที่หน้าผา บางตำราก็บอกว่า หลังจากนำก้อนหินขึ้นมาจากมหาสมุทร ได้ใส่ไว้ในเรือของพระเจ้าติสสะ จากนั้นก็มีการบรรทุกโดยเรือมาจนถึงตีนเขา เมื่อมาถึง เรือที่บรรทุกมาก็ได้กลายเป็นหิน ซึ่งก็คือองค์พระธาตุองค์เล็กที่เพิ่งเดินผ่านมานั่นเองค่ะ

คำว่า ไจ๊ก์ติโย ในภาษามอญแปลว่า หินรูปหัวฤาษี ส่วนที่คนไทยเรียกว่า พระธาตุอินทร์แขวน เพราะเชื่อว่า พระอินทร์เป็นคนนำก้อนหินก้อนนี้มาวางไว้ให้

Myanmar_Kyaiktiyo_040

ชาวพม่าเชื่อว่า จะต้องมาสักการะพระธาตุอินทร์แขวนทั้งหมด 3 ครั้ง ถึงจะได้บุญสูงสุดและคำอธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ แต่สำหรับชาวไทย เราขออนุโลมให้การมาในครั้งหนึ่ง ได้สักการะพระธาตุครบ 3 เวลา …นั่นก็คือ กลางวัน ค่ำ เช้า ถือเป็น  3 ครั้งเหมือนกัน ซึ่งไม่ว่าจะเวลาไหน พระธาตุอินทร์แขวนก็มีความสวยงามไม่ต่างกัน

บนยอดเขานี้นอกจากจะเป็นที่ตั้งของพระธาตุอินทร์แขวนแล้ว ยังมีหมู่บ้านอยู่ด้วยค่ะ เสียดายที่เรามีเวลาไม่มากที่จะเดินไปชมตลาดและหมู่บ้านที่มองเห็นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากลานพระธาตุ

Myanmar_Kyaiktiyo_038


สักการะพระธาตุอินทร์แขวน


พระธาตุอินทร์แขวน เป็นหนึ่งในมหาบูชาสถานที่ได้รับความนิยมจากคนไทยมากๆค่ะ สังเกตได้จากตรงจุดจำหน่ายเครื่องสักการะบูชามีคำอธิบายเป็นภาษาไทยด้วย Myanmar_Kyaiktiyo_035

สำหรับการสักการะพระธาตุอินทร์แขวนสามารถทำได้หลายวิธีเลยค่ะ นอกจากการจุดธูปเทียนสักการะบูชาและสวดมนต์ตามธรรมเนียมชาวพุทธแล้ว เรายังสามารถร่วมทำบุญด้วยกันไฟสปอร์ตไลท์หรือแขวนระฆังได้ด้วย

Myanmar_Kyaiktiyo_034

แต่สำหรับการปิดทองที่องค์พระธาตุนั้น อนุญาตให้ผู้ชายเท่านั้นที่เข้าไปได้  สาวๆอย่างพวกเราก็เลยได้แต่ฝากให้คุณผู้ชาย (ตีสนิทเอาจากแถวนั้น) เข้าไปปิดทองให้ค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_042

Myanmar_Kyaiktiyo_041

ที่มีมีพุทธศาสานิกชนทั้งชาวพม่าและชาวไทยจำนวนมากมาสวดมนต์และนั่งสมาธิ เป็นพลังศรัทธาที่สัมผัสได้ตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่เลย

Myanmar_Kyaiktiyo_043


แสงสุดท้ายที่พระธาตุอินทร์แขวน


ช่วงเวลาทไวไลท์ หรือแสงสุดท้ายก่อนที่พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า และช่วงพระอาทิตย์ตก นับเป็นช่วงที่พระธาตุอินทร์แขวนสวยงามมากค่ะ แสงไฟส่องให้พระธาตุอินทร์แขวนสีทองอร่าม พวกเรานั่งชมความงามของธรรมชาติ ความมหัศจรรย์ของพระธาตุและแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน พวกเรานั่งกันเพลินจนแทบลืมเวลา มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อฟ้าเริ่มมืดสนิทและมีลมเย็นๆพัดมา เป็นสัญญาณว่าเราควรกลับไปนอนพักผ่อนเก็บแรงที่โรงแรม วันรุ่งขึ้นจะได้ตื่นเช้ามาใส่บาตร สักการะพระธาตุและชมบรรยากาศยามเช้ากัน

Myanmar_Kyaiktiyo_048

Myanmar_Kyaiktiyo_047

Myanmar_Kyaiktiyo_049

Myanmar_Kyaiktiyo_045

Myanmar_Kyaiktiyo_046


ใส่บาตรยามเช้า ณ พระธาตุอินทร์แขวน


เช้าวันรุ่งขึ้น พวกเรารีบตื่นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่โผล่มาทักทาย เดินฝ่าความมืดและความหนาวเย็นเพื่อไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวน ขอนับเป็นครั้งที่สามในชีวิต (ครั้งแรกคือตอนกลางวัน ครั้งที่สองคือตอนเย็น/ตอนค่ำ เล่นง่ายๆแบบนี้แหละ) เมื่อมาถึงลานสักการะ ผู้คนจำนวนมากตื่น (หรืออาจจะสวดมนต์กันทั้งคืน) ขึ้นมาไหว้พระสวดมนต์ใส่บาตรกันแล้ว บรรยากาศตอนเช้านี่คึกคักไปด้วยพลังศรัทธาไม่ต่างจากตอนเย็นเลยค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_051

ตอนเช้าจะมีของใส่บาตรวางขายเป็นถาดๆอยู่มากมาย หรือใครจะเตรียมมาเองก็ได้ค่ะ จากนั้นก็มาจุดธูปเทียนและถวายของใส่บาตที่จุดอธิษฐาน ซึ่งเป็นศาลาด้านหน้าองค์พระธาตุ

Myanmar_Kyaiktiyo_052

Myanmar_Kyaiktiyo_053

Myanmar_Kyaiktiyo_079

หลังจากทำบุญ ใส่บาตร ไหว้พระ สวดมนต์ และสักการะพระธาตุอินทร์แขวนเป็นครั้งสุดท้าย พวกเราเฝ้ารอชมบรรยากาศแสงแรกของวันที่นี่กันพักใหญ่ เดินชมบรรยากาศโดยรอบอีกครั้ง ก่อนที่จะกราบลาองค์พระเพื่อเดินทางกลับไปยังเมืองย่างกุ้ง

Myanmar_Kyaiktiyo_054

ขณะเดินกลับโรงแรม พระอาทิตย์ก็เริ่มโผล่ออกมาจากทิวเขาออกมาทักทาย เป็นทิศเดียวกับห้องพักของพวกเรา ก็ได้แต่จินตนาการว่า วิวพระอาทิตย์ขึ้นจากหน้าต่างห้องพักของพวกเราต้องสวยงามมากแน่ๆ เสียดายที่เรายังไม่ได้ชมวิวจากห้องพักราคาแพง(ไปนิด)ให้คุ้มค่าหน่อย

Myanmar_Kyaiktiyo_061

Myanmar_Kyaiktiyo_062

ระหว่างทางจากพระองค์สู่โรงแรม เราเดินสวนทางกับพระและเณรออกบิณฑบาตยามเช้า สามารถซื้ออาหารจากพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นใส่บาตกับพระสงฆ์และเณรก็ได้ค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_063

Myanmar_Kyaiktiyo_064

Myanmar_Kyaiktiyo_078

Myanmar_Kyaiktiyo_083


ผจญภัยบนรถขนหมู อำลาพระธาตุอินทร์แขวน


หลังทานอาหารเช้าที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว พวกเราก็บอกลาวิวสวยๆริมหน้าต่าง เก็บกระเป๋าและเช็คเอาท์ออกจากโรงแรมประมาณ 10 โมงเช้า 

เมื่อมาถึงจุดขึ้นรถขนหมู เราก็ต้องเจอกับกองทัพชาวพม่าและนักท่องเที่ยวจำนวนมากรอขึ้นรถขนหมูกลับไปยังคินปุนเบสแคมป์ พวกเราสับสนกันอยู่นานกับระบบและเวลารถออกที่นี่ หลังสังเกตการณ์อยู่พักใหญ่ ทำให้รู้ว่าคงอีกนานกว่าเราจะได้คิวขึ้นไปนั่งบนด้านหลังรถขนหมู ฉันจึงลองไปถามคนคุมรถซึ่งเขาก็แนะนำให้นั่งไปด้านหน้ารถ ซึ่งจ่ายแพงกว่า 500 จั๊ตแต่จะได้คิวเร็วกว่า พวกเราก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศเลยยอมจ่ายเพิ่มเพื่อได้นั่งหน้ารถ (จริงๆคือกลัวไปไม่ทันรถบัสกลับย่างกุ้งที่จองไว้จากคินปุนเบสแคมป์ค่ะ)

Myanmar_Kyaiktiyo_057

Myanmar_Kyaiktiyo_055

ระหว่างที่รอคิว ก็ถ่ายรูปเล่นไปเรื่อยๆ สิ่งที่ได้เห็นคือ ภาพสู้ชีวิตของคนพม่า

Myanmar_Kyaiktiyo_058

Myanmar_Kyaiktiyo_068

สักพักใหญ่ พี่คนคุมรถก็กวักมือเรียกให้พวกเราเอากระเป๋าไปใส่ด้านหลังรถ แล้วให้ปีนขึ้นไปนั่งด้านหน้ารถ(ด้านหลังขคนขับ) ซึ่งเป็นที่นั่งแคบ แล้วก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งขึ้นมานั่งด้านหน้าข้างๆคนขับ พวกเราสามสาวมองหน้ากันอย่างรู้สึกตะขิดตะขวงใจ ถึงแม้จะทราบว่าพระพม่าสามารถใกล้ชิดกับสีกาได้ แต่สีกาจากเมืองไทยอย่างเราสามคนก็ต้องใช้เวลาสักพักให้คุ้นชิน แล้วรถบรรทุกคันใหญ่ก็ค่อยๆเคลื่อนตัวไปบนถนนเส้นเล็กๆ เส้นทางบางช่วงชันและคดโค้ง เมื่อมีรถสวนขึ้นมาก็ต้องมีการหยุดรอกัน ซึ่งการได้นั่งหน้าก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่งต่างจากนั่งด้านหลัง สนุกไปอีกแบบค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_069

Myanmar_Kyaiktiyo_070


เก็บตก


ร้านอาหารบนยอดเขา เป็นเหมือนของหายากค่ะ แต่พวกเราก็ได้เจอกับร้านอาหาร A1 Resturant ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมที่เราพักเลย ให้พวกเราได้ฝากท้อง อาหารรถชาตดี บริการประทับใจค่ะ แอบติดใจน้ำอะโวคาโดมากเป็นพิเศษ

Myanmar_Kyaiktiyo_020

Myanmar_Kyaiktiyo_076


เดินทางกลับสู่ย่างกุ้ง


ขากลับลงมาจากยอดเขาถึงตัวคินปุนเบสแคมป์ใช้เวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้นเองค่ะ เมื่อมาถึงพวกเราก็รีบมุ่งตรงไปยังจุดขึ้นรถของบริษัท Win Express ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่จุดขึ้นรถขนหมูนั่นแหละค่ะ เราสามารถไปเข้าห้องน้ำที่ร้านอาหารฝั่งตรงข้ามได้ด้วย ก่อนบอกลาเมืองไจ๊ก์โถก็เพิ่งสังเกตุเห็นว่า ที่นี่มีสวนสนุกเล็กๆสีสันสดใส น่าจะเป็นของเล่นใหม่สำหรับคนที่นี่ ฉันชอบชื่อสวนสนุกที่นี่เป็นพิเศษ Smile World ถ้าคนในเมืองใหญ่ส่งยิ้มให้กันเป็นเรื่องปกติ เหมือนผู้คนที่พม่า โลกใบนี้ก็คงจะน่าอยู่ขึ้นนะคะ


Myanmar_Kyaiktiyo_073

Myanmar_Kyaiktiyo_072

Myanmar_Kyaiktiyo_071


Special Thanks


การเดินทาง 2 วัน 1 คืน สู่พระธาตุอินทร์แขวนของเราสามสาวอินดี้ก็ได้จบลง นั่นหมายถึง ฉันได้ทำภารกิจตมความฝัน ในการสักการะมหาพุทธบูชาแห่งที่สี่ของพม่าสำเร็จด้วย ซึ่งการเดินทางครั้งนี้คงไม่สนุกเท่านี้หากไม่มีเพื่อนร่วมทางดีๆ เมื่อมาถึงย่างกุ้ง พี่เจแปนก็ขอแยกตัวเดินทางกลับเมืองไทยไปก่อน ปล่อยให้ฉันกับเพื่อนกบเดินทางต่อไปยังเมืองตองจีกันสองคน ต้องขอบคุณเพื่อนร่วมทางทั้งสองคนไว้ ณ โอกาสนี้ค่ะ

Myanmar_Kyaiktiyo_056

Myanmar_Kyaiktiyo_074

สุดท้าย ขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามการเดินทางมาด้วยกันจนถึงบรรทัดนี้นะคะ

การเดินทางในพม่ายังไม่จบเพียงเท่านี้ แล้วจะรีบกลับมาขุดเรื่องเล่าจากกระเป๋าเดินทางในพม่าให้ฟังกันอีกเร็วๆ

Myanmar_ep2_020

6 thoughts on “มหัศจรรย์แห่งศรัทธา…พระธาตุอินทร์แขวน

  1. รถขนหมูลงจากพระธาติเที่ยวสุดท้ายกี่โมงครับ พอดีจองที่พักด้านล่างแต่อยากถ่านรูปตอนกลางคืนก่อนครับ

    Like

    1. ประมาณหกโมงเย็นค่ะ ที่นั่นจะมีไม่ตารางรถที่แน่นอน จะเป็นแบบคนเต็มถึงออก
      ดังนั้นถ้าจองรถบัสเพื่อเดินทางกลับย่างกุ้งหรือไปต่อที่อื่น ต้องเผื่อเวลาดีๆนะคะ

      Like

  2. รถบัสเที่ยวสุดท้ายจากพระธาตุกลับย่างกุ้ง กี่โมงค่ะ คือคิดว่าจะไปกลับค่ะ เพราะไม่มีเวลาเท่าไหร่ ไม่แน่ใจวันเดียวไปกลับจะทันมัย ขอบคุณค่ะ

    Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s