เที่ยวไปตามใจฉัน ตอนที่ 3…เทรคกิ้ง 13 กิโลม้ง หมู่บ้าน Ma Tra – Ta Phin

วันที่สองในซาปา พวกเราสองคนตื่นแต่เช้าเพราะมีนัดกับไกด์ท้องถิ่นที่เราซื้อเทรคกิ้งทัวร์แบบ One day trip ไว้ตั้งแต่เมื่อวาน “Lam” (ออกเสียงว่า แลม) ไกด์สาวชาวม้งมารับพวกเราที่โรงแรมตามเวลานัดหมาย เธอทักทายและแนะนำตัวกับพวกเราอย่างยิ้มแย้ม ดูท่าทางเป็นคนคุยสนุกสนาน และที่สำคัญสำเนียงภาษาอังกฤษเธอดีมากค่ะ แทบจะไม่มีสำเนียงเวียดนามปนอยู่เลย แล้วเธอก็นำพวกเรามุ่งตรงไปยังตัวเมืองซาปา เธอแนะนำว่าพวกเราควรหาเช่ารองเท้าบูท เพราะเส้นทางที่เราจะเดินไปนั้นมีลุยโคลนลุยน้ำกันบ้าง เธอคงเห็นพวกเราทำตาโตตกใจ เลยรีบปลอบใจว่า “ไม่ต้องกังกล ทางเดินง่าย เส้นทางสวย คนไม่เยอะ ไม่ไกล ไม่ลำบากเลย” เราสองคนก็หลวมตัวหลวมใจเดินตามไปอย่างว่าง่าย ไม่รู้จักกิโลม้งซะแล้ววววว หลังจากเช่ารองเท้าบูทสีฟ้าสด แลมก็พาพวกเราเดินรงไปทางทะเลสาบซาปา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปยังทางลูกรังเล็กๆไม่ไกลจากทะเลสาบ มีสาวชาวม้งสองคนเดินตามมาด้วย เธอทั้งสองพยายามเชื้อเชิญให้พวกเราดูสินค้าทำมือของเธอ พวกเราได้แต่ส่ายหน้าและส่งยิ้มหวานไปให้ แลมบอกว่า พวกเธอมาจากหมู่บ้าน Ma Tra ที่พวกเรากำลังจะไป ในทุกเช้า พวกเธอจะเดินมาจากหมู่บ้านเพื่อไปขายของในตัวเมืองซาปา พอสายๆก็รอเดินกลับหมู่บ้านพร้อมนักท่องเที่ยวที่ไปเทรคกิ้ง เผื่อว่าจะได้ทิปหรือได้รับการอุดหนุนซื้อสินค้าจากเหล่าเทรคเกอร์ ยอมรับว่าตอนนั้นแอบรู้สึกอึดอัดใจเล็กน้อยที่มีคนเดินตามต้อยๆ แต่พวกเธอก็ไม่ได้ตื้อพวกเราจนน่ารำคาญใจ เราเลยเดินไปด้วยกันเงียบๆ Sapa_185 เดินไปได้เพียงไม่นาน พวกเราก็เริ่มย่ำโคลนแบบที่แลมบอกไว้ โชคดีที่มีรองเท้าบูทมาด้วย ไม่อย่างนั้นคงเลอะเทอะทั้งรองเท้าและกางเกง (เราสองคนไม่ได้เตรียมชุดมาลุยกันขนาดนั้น) เส้นทางช่วงแรกจะเป็นทางดินเล็กๆ ที่ต้อองคอยระวังไม่ให้สะดุดหินหรือลื่นไถลไปกับกรวดทราย มีต้องลุยน้ำลุยโคลนกันบ้าง เพิ่มสีสันให้กับการเดินทาง Sapa_018

Sapa_186

Sapa_187

Sapa_188 เมื่อเดินมาได้ระยะทางประมาณ 3 กม. ก็เริ่มเข้าสู่หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งเล็กๆที่ตั้งอยู่บนเชิงเขา วิถีชีวิตแบบง่ายๆ บ้านไม้หลังเล็กๆ เด็กน้อยวิ่งเล่นอยู่ใกล้ๆบริเวณบ้าน สัตว์เลี้ยงประจำบ้าน หมู หมา ไก่ วัว ควาย ที่ถูกปล่อยไว้ตามธรรมชาติ เป็นภาพที่หาดูไม่ได้แล้วในมหานครที่พวกเราจากมา Sapa_189 Sapa_191

Sapa_196

Sapa_192

Sapa_195

Sapa_190

Sapa_193 Sapa_194

Sapa_214 ภาพเด็กน้อยชี้มูกเกรอะกรังที่มีความสุขและสนุกกับการเดินบนกองดินกองทราย ของเล่นของเด็กน้อยเป็นสิ่งของที่หาได้ง่ายๆใกล้ๆตัว ไม่จำเป็นต้องมีสนามเด็กเล่นหรือสวนสนุกขนาดใหญ่ ของเล่นทันสมัยหรูหรา หรือต้องพึ่งพาเทคโนโลยี อย่างเกมส์กด เกมส์ในมือถือไอแพด อย่างเด็กที่เติบโตในเมืองใหญ่ ภาพเด็กน้อยมอมแมมในกองทราย ดูมีชีวิตชีวามากกว่าภาพเด็กน้อยก้มหน้าก้มตาใช้นิ้วเลื่อนไปมาบนจอสี่เหลี่ยมที่เราเห็นจนคุ้นตามากมายนัก Sapa_197

Sapa_198

Sapa_199

Sapa_200

Sapa_201 ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนเล็กๆ ที่มีอาคารหลังน้อยเพียงสองหลัง แลมพาพวกเราเข้าไปในโรงเรียน เด็กๆกำลังเข้าแถวรับอาหารกลางวัลจากคุณครูเพราะเป็นช่วงเวลาอาหารกลางวันของเด็กๆพอดี แลมบอกว่าที่นี่เป็นโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาลที่มีครูประจำอยู่เพียงสองคน แต่ต้องดูแลเด็กๆกว่าสามสิบชีวิต ซึ่งเด็กๆต้องเรียนรวมกัน ยากที่จะแบ่งเด็กๆออกเป็นชั้นเรียน เพราะจำนวนห้องเรียนและจำนวนครูที่มีไม่เพียงพอ Sapa_202

Sapa_022

Sapa_203

Sapa_204

แลมยังเล่าต่อว่า เด็กๆต้องนำข้าวสวยมาเองจากบ้าน โดยคุณครูจะทำกับข้าวแจกเด็กๆ แต่วันนี้มีเด็กน้อยสองคนที่ไม่มีข้าวมาด้วย คุณครูจึงต้องช่วยกันแบ่งข้าวจากเพื่อนๆมาให้เด็กน้อยทั้งสองคนได้ทาน ภาพที่พวกเราได้เห็นตรงหน้า ได้ช่วยเตือนสติเรื่องความฟุ้งเฟ้อ หลายครั้ง การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่มีสาธารณูปโภคครบครัน ก็ทำให้เราหลงลืมไปว่า ยังมีผู้คนอีกมากมายบนโลกใบนี้ที่ลำบากมากกว่าเรานัก การเดินทางทำให้เราใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น ได้เพียงแต่หวังว่าเงินเล็กน้อยที่หย่อนลงกล่องรับบริจาคของโรงเรียน น่าจะพอช่วยให้น้องๆได้มีอาหารกลางวันทานไปอีกหลายมื้อ Sapa_205

Sapa_206

Sapa_207

Sapa_208

Sapa_209

Sapa_210

Sapa_211

Sapa_212

Sapa_213

บรรยากาศรอบๆหมู่บ้าน หากมองกลับไปยังฝั่งที่เราเดินทางมา ก็จะเห็นเบื้องหลังของบ้านตึกสามสี่ชั้นในตัวเมืองซาปาอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล ไม่น่าเชื่อเลยว่า ระยะทางเพียงไม่กี่กิโลเมตร วิถีชีวิตของผู้คนจะแตกต่างกันได้มากถึงเพียงนี้

Sapa_215

ออกจากโรงเรียนด้วยความรู้สึกเบาหวิว พวกเราก็ลัดเลาะตามคันนาเรียบลำธารเล็กๆไปเรื่อยๆ แลมชี้ให้ดูอาคารสีเหลืองหลังคาสีแดงพร้อมอธิบายว่า นั่นเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล จะสังเกตว่าที่ไหนเป็นของรัฐบาลได้จาก อาคารสีเหลืองหลังคาสีแดงนี่แหละค่ะ

Sapa_216

Sapa_217

ตลอดเวลาหลายชั่วโมงที่เดินทางกันมา เราต้องย่ำโคลน ผ่านเส้นทางกรวดหินดินทราย ขึ้นและลงทางชัน นับเป็นประสบการณ์ใหม่ที่เพื่อนสาวของจุ๊ไม่ค่อยได้มีโอกาสมาสมบุกสมบันบ่อยนัก (พาเค้ามาลำบาก ยังไม่สำนึก) แต่คุณป้าชาวม้งที่เดินตามพวกเรามาตั้งแต่ในเมืองก็คอยช่วยจูงช่วยพยุงเพื่อนจุ๊มาตลอดทาง คุณป้าน่าจะมีอายุเกือบๆ 60ปี แต่ยังแข็งแรงมากๆ น่าจะแข็งแรงมากกว่าพวกเราอีก เห็นแบบนี้ก็รู้สึกผิดที่แอบคิดรำคาญใจในตอนแรกที่คุณป้าเดินตามพวกเรามาตลอดทาง

Sapa_218

ภาพเด็กสาวชาวม้งหน้าตาน่ารักที่เดินสวนทางกับพวกเราระหว่างทาง ดูเหมือนว่าผู้หญิงที่นี่ต้องเริ่มทำงานกันตั้งแต่อายุยังน้อย

Sapa_219

Sapa_220

เมื่อสิ้นสุดคันนา สาวม้งทั้งสองคนที่เดินตามพวกเรามาเริ่มส่งสัญญาณว่า ถึงบ้านของพวกเธอแล้ว ถึงเวลาต้องลาจากกันตรงนี้ พวกเราเลยถือโอกาสขอถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก สำหรับมิตรภาพสั้นๆที่เกิดขึ้นระหว่างทาง พร้อมอุดหนุนกระเป๋าสะพายทำมือใบเล็กเป็นการตอบแทนน้ำใจที่พวกเธอช่วยให้การเดินย่ำโคลนของพวกเราราบรื่นขึ้น

Sapa_221

Sapa_222

Sapa_223

Sapa_224

Sapa_225

     ก่อนจะแยกจากกัน คุณป้าม้งผูกข้อมืออวยพรให้กับพวกเราด้วย “มิตรภาพจากการเดินทาง…สวยงามเสมอ”

Sapa_226

คนบางคน เรามีโอกาสได้เพียงสวนทางหรือสนทนากันสั้นๆ แต่อาจจะติดอยู่ในความทรงจำยาวนาน

เรามีวิธีสังเกตชาวเขาเผ่าม้งได้จากการดารแต่งกายของพวกเขาค่ะ ชาวม้งจะแต่งกายด้วยผ้าทอสีสันสดใสหลากสีสะท้อนแสง ทั้งชุดและผ้าโพกผมเลยค่ะ หน้าตาก็จะจิ้มลิ้มน่ารัก เป็นชาวเขาที่ขึ้นกล้องมากๆ

Sapa_227

หลังจากเดินย่ำโคลน ลุยลำธาร ลื่นไถลบนดินกรวดและตามคันนากันมาหลายชั่วโมงแล้ว พวกเราก็เริ่มเข้าสู่ถนนลาดยางเส้นเล็กๆที่ตัดผ่านหมู่บ้าน Ma Tra ไปยังหมู่บ้าน Ta Phin เพื่อให้ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาหาสู่กัน เป็นเส้นทางเดินเท้าและสำหรับมอเตอร์ไซต์เท่านั้น ถนนเส้นนี้เพิ่งกลายมาเป็นเส้นทางเทรคกิ้งเส้นใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ถนนเส้นนี้คดเคี้ยวขึ้นลงไปตามเชิงเขาเป็นระยะทางกว่าสิบกิโลเมตร

Sapa_229

ก่อนที่จะเดินเข้าหมู่บ้าน เราต้องผ่านสถานีเล็กสำหรับขายบัตรเข้าชมหมู่บ้าน ราคาคนละ 30.000 VND แต่ถ้ามากับทัวร์แบบพวกเรา ค่าแพคเกจก็จะรวมค่าเข้าชมหมู่บ้านแล้วค่ะ

Sapa_228

หมูดำตัวนี้น่าจะถูกนำไปขายในตัวเมืองซาปา กลายเป็นหมูหันในร้านอาหาร

Sapa_230

เมื่อเข้าสู่หมู่บ้าน Ma Tra เราก็เริ่มเห็นบรรยากาศของชาวบ้าน บ้านไม้ที่มีผักสวนครัวรั้วกินได้อยู่ในบริเวณบ้าน เด็กน้อยวิ่งเล่นอยู่บนกองทราย สนุกสนานกัน ไม่ได้สนใจท่องท่องเที่ยวแปลกหน้าที่เดินผ่าน

Sapa_231

Sapa_232

Sapa_233

Sapa_234

Sapa_235

Sapa_236

Sapa_237

Sapa_238

หมู่บ้าน Ma Tra ซึ่งเป็นหมู่บ้านม้งกลางหุบเขาที่คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ผู้ชายส่วนใหญ่จะอยู่บ้านทำสวน ส่วนผู้หญิงจะตัดเย็บเสื้อผ้าและไปขายของในตลาดหรือในตัวเมืองซาปา ช่วงที่ไม่ได้ทำนา แปลงนาขั้นบันไดก็จะถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่ปลูกอาร์ติโชค (Artichoke)

Sapa_240

Sapa_241

Sapa_242

Sapa_243

Sapa_244

ที่นี่นิยมปลูกผักชนิดนี้ มีป้ายติดชื่อไว้ว่า Artickoke แต่ช่างแตกต่างจาก Artichoke ผักฝรั่งที่เคยรู้จักมาก่อน จุ๊เคยลองทานในร้านหม้อไฟที่ซาปา รู้สึกว่าเหมือนผักกวางตุ้งมากกว่า หากใครทราบข้อมูลช่วยชี้แจงด้วยนะคะ

Sapa_249

นอกจากที่นี่จะทำนาขั้นบันได ปลูกผัก เลี้ยงหมูลี้ยงไก่แล้ว หมู่บ้าน Ma Tra ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาแซลมอนชื่อดังของซาปาด้วยค่ะ

Sapa_247

Sapa_248

การเดินเท้าในช่วงตอนกลางวัน ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาวแต่แดดร้อนๆก็ทำให้การเทรคกิ้งไม่น่าภิรมย์นัก เดินมาได้ไม่ถึงครึ่งทางพวกเราก็เริ่มมีอาการหิวและกระหายน้ำ พวกเราจึงหยุดแวะพักจิบโค้กเย็นๆที่ร้านค้าในหมู่บ้าน เพื่อเติมพลังกันหน่อย

Sapa_239

Sapa_245

เมื่อเริ่มคุ้นเคยสนิทสนมกับแลมไกด์สาวชาวม้งของเรา ก็เริ่มมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตของกันและกัน แลมแปลกใจที่สองสาวสวยชาวไทย (กล้าเน๊อะ) อย่างเราสองคนยังอยู่เย็นเป็นโสดมาได้จนทุกวันนี้ เพราะชาวม้งส่วนใหญ่จะแต่งงานเร็ว อายุยังน้อยก็มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมืองแล้ว พวกเราเลยคุยกันขำๆว่าให้แลมช่วยหาแฟนให้หน่อยระหว่างการเดินเทรคกิ้งนี่แหละ พวกเราอยากมาเป็นสะใภ้เวียด เธอหัวเราะเสียงดังลั่นหมู่บ้าน แล้วถามว่า พวกเธอแน่ใจเหรอ สาวเวียดนามทำงานหนักนะ ต้องทำงานบ้าน ทำสวน เย็บผ้า แบกของไปขายในเมือง เลี้ยงลูกละปรนนิบัติสามีด้วย ส่วนผู้ชายเวียดนามนี่ขี้เกียจอยู่บ้านแบบสบายๆ พวกเราฟังแล้วก็นึกถึงภาพบรรยากาศการเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ผู้หญิงเวียดนามที่ฮานอย ภาพการเป็นหญิงแกร่งทำงานหนักของสาวชาวเวียดเริ่มผ่านเข้ามาในหัว ขณะเดินอยู่ในหมู่บ้าน ภาพสาวเวียดที่ทำงานหนักตั้งแต่เด็กยันแก่ พอคิดได้ดังนั้น พวกเราสองคนก็ยิ้มรับความสุขและอิสรภาพของการเป็นสาวโสดต่อไป

Sapa_289

Sapa_287

Sapa_288

แลมเล่าให้ฟังว่า หมู่บ้าน Ta Phin (จุดสิ้นสุดการเทรคกิ้งของเรา) เริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่อยากมาชมวิถีชีวิตของชาวเขา การเดินทางไปยังหมู่บ้านสะดวกเพราะมีรถยนต์เข้าถึง (สามารถเดินทางไปได้โดยรถยนต์โดยใช้อีกเส้นทางหนึ่งจากซาปา ไม่ใช่เส้นทางเทรคกิ้งที่พวกเราเดินมา) ในขณะที่เส้นทางเทรคกิ้ง Ma Tra – Ta Phin ที่มีระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เพิ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวขาลุยเมื่อไม่นานมานี้เอง แลมบอกว่าเราสองคนน่าจะเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆที่ได้มาสัมผัสเส้นทางนี้ (แอบภูมิใจเล็กๆนะ)

หมู่บ้าน Ma Tra เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าม้ง (Hmong) ส่วนหมู่บ้าน Ta Phin จะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าเย้าแดง (Red Dzao) เมื่อเดินมาถึงช่วงรอยต่อระหว่างสองหมู่บ้าน เราก็จะได้เห็นชาวเขาทั้งสองเผ่าอาศัยอยู่ร่วมกัน

Sapa_250

Sapa_252

Sapa_253

ชาวเขาเผ่าเย้าแดงจะแต่งกายด้วยชุดสีดำ (สีสันไม่สดใสแบบชาวม้ง) และมีผ้าคลุมผมสีแดงขอบขาว มองไกลๆนึกว่าเวียดนามมีซานตาครอสเลยค่ะ อิอิ

Sapa_251

เส้นทางระหว่างหมู่บ้าน Ma Tra – Ta Phin เริ่มเป็นทางชัน มีทั้งทางขึ้นและทางลงเนินเขา วิวสองข้างทางเริ่มมีแต่ไร่นาและภูเขา บ้านของชาวเขาก็เริ่มตั้งอยู่ห่างๆกระจัดกระจาย ไม่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ให้พวกเราได้หลบแดดร้อน ขณะนั้นเลยเวลาอาหารเที่ยงมานานพอสมควร แลมไกด์สาวของเราเริ่มมีอาการหงุดหงิดที่พวกเราเดินช้า ก็มันทั้งร้อนทั้งหิว จุ๊ก็แอบหยุดถ่ายภาพบ่อยขึ้น วิวข้างทางก็ไม่ได้สวยไปกว่าที่ผ่านมา แต่เป็นการแอบอู้หยุดพักเนียนๆที่ดีวิธีหนึ่ง หันไปเห็นเพื่อนสาวก็รู้สึกผิดและสงสารเธอยิ่งนัก ที่พาเธอมาตกระกำลำบาก เพราะปกติเธอจะไม่ค่อยเที่ยวแบบลุยๆอย่างนี้ หน้าเธอเริ่มซีด แต่ขาก็ยังคงก้าวต่อไปอย่างช้าๆ พวกเราเริ่มวางแผนกันว่า ถ้าเธอเดินต่อไปไม่ไหว เราจะโบกรถมอเตอร์ไซต์ของชาวบ้านให้ไปส่งเธอที่ปลายทาง

แลมคงโมโหหิว เธอเริ่มขู่จุ๊ว่า “ฉันหิวแล้วนะ ร้านที่พวกเราจะแวะทานข้าวเที่ยวก็ยังอีกไกล ถ้ายูยังเดินช้าแบบนี้ ไอจะกินเพื่อนยูทั้งตัวเลย” ฮา…เธอเป็นคนที่มีมุกตลอดทางเลยค่ะ แต่ครั้งนี้ดูเธอจะไม่ขำด้วยและดูจริงจังขึ้นมานิดหนึ่ง จุ๊เลยเพลาๆการกดชัตเตอร์ลง และพยายามก้าวเท้าให้ไวขึ้น

Sapa_030

Sapa_031

Sapa_032

Sapa_033

เพื่อนสาวของจุ๊บอกว่า “ทริปนี้ แกจัดให้ชั้นหนักมากเลยนะ ไหนบอกว่าไม่ไกล เดินง่าย สบาย ชิลล์ๆ” จุ๊ก็ได้แต่ยิ้มแหยๆตอบกลับไปว่า ” ฮ่าาา เค้าก็โดนม้งหลอกมาอีกที 13 กิโลม้งนี่ไม่เบาเลยทีเดียว”

Sapa_256

ตอนนั้นได้แต่ร้องเพลงในใจ

“ฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน” สลับกับ “กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง”

Sapa_257

และแล้วในที่สุด พวกเราก็เดินมาถึงร้านอาหารสำหรับมื้อเที่ยงกันที่ Nam Duyen Restaurant ซึ่งตั้งอยู่ช่วงต้นของหมู่บ้าน Ta Phin โดยร้านนี้เป็นทั้งร้านขายของชำของชาวบ้านแถวนี้และเป็นร้านอาหารสำหรับทัวร์เทรคกิ้งด้วย ซึ่งค่าอาหารมื้อนี้ก็จะรวมอยู่ในแพคเกจเทรคกิ้งแล้วค่ะ

Sapa_258

ระหว่างรออาหารมาเสิร์ฟ จุ๊ก็ถ่ายภาพหมู่บ้าน ชาวบ้านและเด็กน้อยแถวนั้น เพลินเลยค่ะ

Sapa_260

Sapa_261

Sapa_262

Sapa_263

Sapa_264

Sapa_276Sapa_266

            ลูกสาวและเจ้าของร้าน Nam Duyen Restaurant น่ารักมากๆเลยค่ะ

Sapa_267

Sapa_268

พออาหารมาเสริ์ฟ เพื่อนสาวของจุ๊ก็หน้าตาสดใสขึ้นมาทันที ก็นี่มันปาเข้าไปเกือบบ่ายสามโมงแล้วเพิ่งจะได้ทานข้าวเที่ยงกัน ระหว่างทางแทบจะไม่มีอะไรตกถึงท้องกันเลย นอกจากโค้กเย็นๆกันคนละกระป๋อง พวกเราทานอาหารมื้อนี้กันจนเกลี้ยง ไม่แน่ใจว่าอาหารอร่อยหรือเพราะหิวมากกันแน่ ค่าอาหารมื้อนี้ก็รวมอยู่ในแพคเกจทัวร์แล้วค่ะ

Sapa_259

เมื่อท้องอิ่ม พวกเราก็เริ่มมีพลังออกเดินทางกันต่อแล้วค่ะ ยังเหลือระยะทางอีกกว่า 5 กม. กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางหมู่บ้าน Ta Phin เส้นทางก็ยังคงเป็นถนนปูนเล็กๆคดเคี้ยวขึ้นลงเขาสลับไปมา มีภูเขาหินสูงใหญ่และนาขั้นบันไดเป็นฉากสองข้างทาง

Sapa_269

Sapa_270

Sapa_271

Sapa_272

Sapa_273

Sapa_274

Sapa_275

หมู่บ้าน Ta Phin เป็นหมู่บ้านกลางหุบเขาที่มีจำนวนหลังคาเรือนและประชากรหนาแน่นกว่าหมู่บ้าน Ma Tra อยู่มาก โรงเรียนใหญ่กว่า บ้านหลังใหญ่กว่า สวนผักก็กว้างขวางกว่าเยอะ น่าเสียดายที่พวกเราไม่มีเวลาสำรวจและทำความรู้จักหมู่บ้าน Ta Phin มากนัก สาวไทยสองคนขาสั้นกว่าเทรคเกอร์ชาติอื่น พวกเราเลยมาถึงช้ากว่าคนอื่นหลายชั่วโมงเลย

แลมบอกว่ารถตู้ของบริษัททัวร์มารอพวกเราอยู่นานแล้ว เทรคเกอร์คนอื่นก็ถึงที่หมายกันนานแล้ว พร้อมทั้งเร่งพวกเราให้รีบเดิน ตอนนั้นแอบคิดในใจว่า …ถ้ากลิ้งลงเขาได้ก็จะกลิ้งแล้ว น่าจะถึงไวกว่า… เพราะตอนนั้นขาแทบจะไม่มีแรงแล้ว

Sapa_274

Sapa_277

Sapa_278

Sapa_279

Sapa_280

Sapa_281

Sapa_282

ในที่สุด เราก็มาถึงจุดหมายปลายทางค่ะ รถตู้ของบริษัททัวร์จอดรอพวกเราอยู่ที่ลานจอดรถใกล้ตลาดของหมู่บ้าน Ta Phin ที่นี่คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวที่ซื้อทัวร์มาชมวิถีชีวิตชาวบ้าน (ส่วนใหญ่จะนั่งรถมาโดยตรง ไม่ได้เทรคกิ้งมาแบบพวกเราค่ะ)

ที่นี่เราจะได้เห้นซานตอครอส เอ้ย ชาวเขาเผ่าเย้าแดงที่มีผ้าโพกผมสีแดงเดินปะปนอยู่กับนักท่องเที่ยว

Sapa_283

หมู่บ้าน Ta Phin อยู่ห่างจากตัวเมืองซาปาประมาณ 17 กม.ค่ะ ระหว่างนั่งรถตู้ พวกเราก็ได้รู้จักกับสาวน้อยน่ารักคนหนึ่ง เธอเป็นลูกสาวของเจ้าของบริษัทัวร์ เด็กคนนี้ดูคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ คงจะติดสอยห้อยตามคุณพ่อคุณแม่มารับนักท่องเที่ยวอยู่บ่อยๆ เธอน่ารัก คุยเก่ง และตลก

Sapa_284

เมื่อกลับถึงซาปา พวกเราแวะคุยกับพนักงานและเจ้าของบริษัททัวร์กันอีกพักใหญ่ จิบกาแฟไปคุยกันไป จนสุดท้ายพวกเราก็หลวมตัวซื้อทัวร์ส่วนตัวแบบครึ่งวันกับบริษัทนี้อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ซึ่งพรุ่งนี้เราจะมีเวลาอยู่ในซาปาแค่ครึ่งวัน ก่อนที่จะต้องเดินทางกลับฮานอยในตอนบ่าย แลมแนะนำว่าจะพาไปชมวิวเมืองซาปาและนาขั้นบันไดบยอดเขา ซึ่งสามารถเอารถไปถึงได้ไม่ต้องเดินไกล ซึ่งพวกเราก็ตกลงปลงใจแต่โดยดี เพราะไม่เคยได้ยินเส้นทางนี้มาก่อน

Sapa_285

               นับเป็นอีกวัน ที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการเดินทางไกล เพราะเดินตากแดดตากลมหนาวเป็นระยะทางกว่า 13 กิโลม้ง ถึงแม้จะเหนื่อย แต่พวกเราก็ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้รู้จักซาปาในมุมใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้พบเจอเพื่อนใหม่ระหว่างทาง ได้สานสัมพันธ์กับเพื่อนรักให้แน่นแฟ้นขึ้น (ไม่รู้ว่าจะเข็ด ไม่อยากเดินทางกับจุ๊ไปอีกนานหรือเปล่า)  ประสบการณ์เหล่านี้คงกลับไปเล่าให้เพื่อนๆฟังได้อีกหลายวัน

           มีคนเคยกล่าวว่า

เพื่อนที่ดี จะรับฟังเรื่องสนุกจากการเดินทางของเรา

แต่เพื่อนที่ดีที่สุด จะร่วมผจญภัยในการเดินทางกับเรา

Sapa postcard_021

          จุ๊และเพื่อนที่ดีที่สุด เราสองคนปิดท้ายวันอันแสนเหน็ดเหนื่อย ด้วยการไปนวดเท้าในตัวเมืองซาปาและดินเนอร์ที่ร้านอาหารสุดชิค เป็นการให้รางวัลสำหรับการเดินทางไกลในวันนี้

         การเดินทางของพวกเรากำลังเดินทางมาถึงวันสุดท้ายในซาปาแล้วค่ะ โแรดติดตามต่อได้ในตอนต่อไป

สำหรับคนที่พลาดแนะนำการเดินทางสู่ฮานอยและซาปา สามารถย้อนอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้

เที่ยวไปตามใจฉัน…5 วัน การเดินทางสู่ซาปาเมืองในหมอก

การเดินทางหนึ่งวันในฮานอยค่ะ

เที่ยวไปตามใจฉัน ตอนที่ 1…เมื่อฮานอยฝนตกทั้งวันไปไหนดี

และการเดินทางวันแรกในซาปา

เที่ยวไปตามใจฉัน ตอนที่ 2 ซาปาเมืองในหมอก

ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ขอให้สนุกกับการเดินทางค่ะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s